คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์


จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ วิทยาลัยนครราชสีมา
Human Research Ethics of Nakhonratchasima College
วิทยาลัยนครราชสีมาได้เห็นความสำคัญของการทำวิจัยที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์จึงได้แต่งตั้งคณะกรรมการจริยธรรมทางการวิจัยในมนุษย์ ทำหน้าที่พิจารณาโครงการวิจัยในมนุษย์ของวิทยาลัยตั้งแต่ปีการศึกษา พ.ศ.2557 เพื่อให้การดำเนินงานที่เกี่ยวข้องเป็นไปตามหลักการและแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องตามมาตรฐานสากล

ชมรมจริยธรรมการทาวิจัยในคนในประเทศไทย (ธาดา สืบหลินวงศ์ พรรณแข มไหสวริยาและสุธี พานิชกุล, 2551, หน้า 4) ได้ให้ความหมาย “การทำวิจัยในคน” ว่าหมายถึง การศึกษาวิจัย การสอบถาม การสัมภาษณ์ทางสังคมศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อมต่างๆ การทดลองเภสัชผลิตภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ การศึกษาธรรมชาติของโรค การวินิจฉัย การรักษา การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่เกี่ยวข้องกับคนหรือ การกระทำต่อคน รวมทั้งการศึกษาวิจัยจากเวชระเบียนหรือฐานข้อมูล วัตถุสิ่งส่งตรวจ น้าคัดหลั่ง เนื้อเยื่อที่ได้จากร่างกายคน รวมถึงการศึกษาทางสรีรวิทยา ชีวเคมี พยาธิวิทยา การตอบสนองต่อการรักษา ทางด้านกาย ชีวเคมี จิตวิทยาในอาสาสมัครปกติและ ผู้ป่วย ซึ่งเรียกรวมๆ ว่าเป็น การวิจัยทางชีวเวชศาสตร์ (Biomedical research)
ดังนั้น การวิจัยในมนุษย์จึงมีความหมายครอบคลุมถึง การศึกษาในมนุษย์ การศึกษาโดยใช้สิ่งส่งตรวจที่มาจากมนุษย์ ซึ่งเจาะจงระบุถึงตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของสิ่งส่งตรวจได้ เช่น เลือด สารคัด หลั่ง และชิ้นเนื้อ เป็นต้น รวมถึงการศึกษาโดยใช้ข้อมูลเฉพาะบุคคลที่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าข้อมูลนั้น เป็นของบุคคลใด เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ได้ความรู้ใหม่ในสาขาต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งๆ ขึ้น

ชมรมจริยธรรมการทำวิจัยในคนในประเทศไทย (ธาดา สืบหลินวงศ์ พรรณแข มไหสวริยาและสุธี พานิชกุล, 2551, หน้า 4) ได้ให้ความหมาย “การทำวิจัยในคน” ว่าหมายถึง การศึกษาวิจัย การสอบถาม การสัมภาษณ์ทางสังคมศาสตร์ สิ่งแวดล้อมและสภาวะแวดล้อมต่างๆ การทดลองเภสัชผลิตภัณฑ์ เครื่องมือแพทย์ การศึกษาธรรมชาติของโรค การวินิจฉัย การรักษา การส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ที่เกี่ยวข้องกับคนหรือ การกระทำต่อคน รวมทั้งการศึกษาวิจัยจากเวชระเบียนหรือฐานข้อมูล วัตถุสิ่งส่งตรวจ น้าคัดหลั่ง เนื้อเยื่อที่ได้จากร่างกายคน รวมถึงการศึกษาทางสรีรวิทยา ชีวเคมี พยาธิวิทยา การตอบสนองต่อการรักษา ทางด้านกาย ชีวเคมี จิตวิทยาในอาสาสมัครปกติและ ผู้ป่วย ซึ่งเรียกรวมๆ ว่าเป็น การวิจัยทางชีวเวชศาสตร์ (Biomedical research)

ดังนั้น การวิจัยในมนุษย์จึงมีความหมายครอบคลุมถึง การศึกษาในมนุษย์ การศึกษาโดยใช้สิ่งส่งตรวจที่มาจากมนุษย์ ซึ่งเจาะจงระบุถึงตัวบุคคลที่เป็นเจ้าของสิ่งส่งตรวจได้ เช่น เลือด สารคัด หลั่ง และชิ้นเนื้อ เป็นต้น รวมถึงการศึกษาโดยใช้ข้อมูลเฉพาะบุคคลที่สามารถเชื่อมโยงได้ว่าข้อมูลนั้น เป็นของบุคคลใด เพื่อวัตถุประสงค์ที่จะให้ได้ความรู้ใหม่ในสาขาต่างๆ อันจะนำไปสู่การพัฒนาความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของมนุษย์ให้ดียิ่งๆ ขึ้น


รายนาม
คณะกรรมการจริยธรรม
การวิจัยในมนุษย์


คู่มือ การเสนอขอพิจารณารับรองจริยธรรมทางการวิจัยในมนุษย์


ประกาศ เรื่อง จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ ของวิทยาลัยนครราชสีมา


แบบฟอร์ม เอกสารดาวน์โหลด

หนังสือ ขอเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการพิจารณาจริยธรรมวิจัยในมนุษย์ (Form EC.01) สำหรับวิทยาลัยนครราชสีมา
หนังสือ ขอเสนอโครงการวิจัยเพื่อขอรับการพิจารณาจริยธรรมวิจัยในมนุษย์
(Form EC.01) สำหรับบุคคลภายนอก
แบบข้อเสนอโครงการวิจัย  สน.วพ.01 (Form RD.01)
แบบเสนอเพื่อขอรับการพิจารณาด้านจริยธรรมของการวิจัยในมนุษย์ (Form EC.02 - EC.04-2) เอกสารแนบหนังสือ
แบบประเมินโครงการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ (Form EC.05) เอกสารสำหรับคณะกรรมการฯ
ตารางแสดงรายละเอียดการแก้ไขตามข้อเสนอแนะ (Form EC.06) เอกสารสำหรับคณะกรรมการฯ
แบบฟอร์มขอต่ออายุใบรับรองจริยธรรมข้อเสนอโครงการวิจัย (Form EC.07) พร้อมแนบความก้าวหน้าของโครงการวิจัย
แบบรายงานเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ของโครงการวิจัย (Form-ec-AER) แนบภาพถ่ายประกอบ (ถ้ามี)



เอกสารเผยแพร่

นโยบายและกฏหมายเกี่ยวกับการวิจัยในคน
แนวทางจริยธรรมการทำวิจัยในคนในประเทศไทย
แนวทางการดำเนินการวิจัยในมนุษย์ ด้านพฤติกรรมศาสตร์ สังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์
การขอความยินยอมระยะไกลและการขอความยินยอมแบบอิเล็กทรอนิกส์ (ข่าวสารfercit)


 

หน่วยงานภายนอกที่เกี่ยวข้อง


ติดต่อสอบถาม และ ส่งเอกสารได้ที่


ห้องสำนักงานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์  เบอร์ภายใน 185

วิทยาลัยนครราชสีมา 290 หมู่ 2 ถ.มิตรภาพ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง  จ.นครราชสีมา 30000

หรือที่ e-mail:  อีเมลนี้จะถูกป้องกันจากสแปมบอท แต่คุณต้องเปิดการใช้งานจาวาสคริปก่อน