การจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (土) เพื่อพัฒนาทุกปีการณีการอำนค้าคล้องรงโดยใช้ฝึกฝึกร่วมกับ การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค THINK-PAIR-SHARE ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2 ให้มี ประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านคำคล้องจองของ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ก่อนและหลังเรียนโดยใช้ชุดฝึกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค THINK-PAIR-SHARE และ(3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกการอ่านคำ คล้องจองร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค THINK-PAIR-SHARE ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่ม ตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดหงษ์ อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 1 ห้องเรียน รวม 20 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการ วิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดฝึกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค THINK- PAIR-SHARE เรื่อง การอ่านคำคล้องจอง จำนวน 8 แผน (2) ชุดฝึกเรื่อง การอ่านคำคล้องจอง จำนวน 8 ชุด (3) แบบวัดความสามารถในการอ่านคำคล้องจอง จำนวน 30 ข้อ และ (4) แบบประเมินควานความ พึงพอใจ 4 ด้าน จำนวน 12 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (Dependent Sample) ผลการวิจัยสรุปได้ว่า 1. ชุดฝึกการอ่านคำคล้องจองโดยใช้ชุดฝึกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค THINK- PAIR-SHARE ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 2 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 85.33/84.17 2. ความสามารถในการอ่านคำคล้องจองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้ชุดฝึก ร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค THINK-PAIR-SHARE หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 3. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกการอ่านคำคล้องจองร่วมกับการเรียน แบบร่วมมือเทคนิค THINK-PAIR-SHARE ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 อยู่ในระดับสูง |