บทคัดย่อ (Abstract) |
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นต่อองค์กรแห่งการ เรียนรู้ของบุคลากรโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามอายุ ระดับการศึกษา และประสบการณ์ทำงาน ประชากรคือ ผู้บริหารสถานศึกษาและ ครูผู้สอนในโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ปีการศึกษา 2564 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 115 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางเครจซี่และมอร์แกน และ ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีระดับความเชื่อมั่น 0.93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน, F-test และการทดสอบค่าเฉลี่ยรายคู่วิธีการของเซฟเฟ่ ผลการวิจัย 1. ผลการวิเคราะห์องค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุก ด้านอยู่ในระดับมาก เรียงตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย คือ ด้านการมีแบบแผนทางความคิด รองลงมาคือ ด้านการเป็นบุคคลรอบรู้ และด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม 2. ผลการเปรียบเทียบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามอายุ โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีอายุต่างกันมีความคิดเห็นต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรโรงเรียนปาก ช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ผลการเปรียบเทียบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีระดับการศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ บุคลากรโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยรวมและ และรายด้านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ฉ 4. ผลการเปรียบเทียบองค์กรแห่งการเรียนรู้ของบุคลากรโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกประสบการณ์ทำงาน โดยภาพรวมและรายด้าน พบว่า ผู้บริหารและครูผู้สอนที่มีประสบการณ์ทำงานต่างกันมีความคิดเห็นต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ ของบุคลากรโรงเรียนปากช่อง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา โดยรวม และและรายด้านไม่แตกต่างกัน |