ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  กลยุทธ์การจูงใจชาวนาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ เพิ่มขึ้น : กรณีศึกษา ชาวนาอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี
 เจ้าของผลงาน  เจริญ สุขัง
 ปีการศึกษา  2558
 ประเภท  วิทยานิพนธ์
 คณะ  คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
 หลักสูตร  บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
 สาขา  บริหารธุรกิจ
 จำนวนหน้า  126 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  

                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)  เพื่อศึกษาปัจจัยพื้นฐานของชาวนาในอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี 2)  เพื่อศึกษาปัจจัยที่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้น       ของชาวนาในอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี  3)  เพื่อเปรียบเทียบระดับความสำคัญต่อปัจจัยที่ทำให้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม    การใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้น จำแนกตามปัจจัยพื้นฐานของชาวนา     4) เพื่อสร้างรูปแบบกลยุทธ์การจูงใจชาวนาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้น กลุ่มตัวอย่างคือชาวนาที่ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรผู้เพาะปลูกข้าว ในอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี ประจำปี พ.ศ. 2557 จำนวน 400 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม  มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา ค่าร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว  ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยพื้นฐานของชาวนาส่วนใหญ่มีการศึกษาอยู่ในระดับประถมศึกษา ครอบครัวมีรายได้จากการทำนา ทำนาเพื่อเก็บผลผลิตไว้บริโภคและจำหน่าย  มีที่นาเป็นของตนเอง มีประสบการณ์ในการทำนามากกว่า 10 ปี มีจำนวนแรงงานในครอบครัว 4-5คน มีขนาดพื้นที่ของที่นาน้อยกว่า 10 ไร่ ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ทำนาอยู่ในระดับปานกลาง ใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ และส่วนใหญ่มีความรู้เกี่ยวกับการผลิตและการใช้ปุ๋ยอินทรีย์อยู่ในระดับปานกลาง 2) ความคิดเห็นต่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้นของชาวนาอำเภอน้ำขุ่น จังหวัดอุบลราชธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณาเป็นรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านสุขภาพ และด้านนโยบายรัฐบาล ส่วนด้านที่อยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านกายภาพด้านสังคมด้านเศรษฐกิจ และด้านชีวภาพ ตามลำดับ        3) ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่าชาวนาที่มี ระดับการศึกษา วัตถุประสงค์ของการทำนา  ประสบการณ์ในการทำนา  ขนาดพื้นที่ของที่นา  ความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ทำนาที่ต่างกัน มีระดับความคิดเห็นต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วน ลักษณะการใช้ปุ๋ย แหล่งที่มาของรายได้ การครอบครองที่นา จำนวนแรงงานในครอบครัว ความรู้ในการผลิต และใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ต่างกัน มีระดับความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4) กลยุทธ์การจูงใจชาวนาในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์เพิ่มขึ้น ได้แก่การส่งเสริมหรือประชาสัมพันธ์ ด้านสุขภาพ และนโยบายรัฐบาล เป็นสำคัญเพื่อให้เกิดผลต่อการจูงใจที่ได้ผลเร็วขึ้น

คำสำคัญ: การจูงใจ  ชาวนา  การใช้ปุ๋ยอินทรีย์

 

          This research aims to 1) study the fundamentals of farmers in Nam Khun District Ubon Ratchathani Province 2) to study the factors influencing to changing of farmers’ behaviors to increase organic fertilizer utilization in Nam Khun District Ubon Ratchathani Province 3) to compare the opinions of the factors influencing to changing of farmers’ behaviors to increase organic fertilizer utilization categorized by personal factors 4) to create a strategy to motivate farmers in changing of farmers’ behaviors to y specific sampling. The instruments used in the questionnaire. The statistics used for data analysis increase organic fertilizer utilization. Samples are 400 farmers registered as rice farmers in  2014 were descriptive statistics; percentage, mean, standard deviation and inferential statistics such as t–test and one-way ANOVA. The results showed that 1) the fundamentals of farmers mainly are in elementary education, family income is from farming, farm productivity are for the consumption and distribution, own farm less than 10 hectares with over 10 years experience,  4-5 people of labor in family with moderate soil fertility, use chemical fertilizer with organic one and most of farmers had moderate knowledge about the production and organic fertilizers usage  2) opinions in changing of farmers’ behaviors to increase organic fertilizer utilization in overall are moderate. If consider by aspects, health and government policy were at high level and physical, social, economic and biological were at moderate level respectively 3) the hypothesis testing found that the farmers with different education level, purpose of the farm, experience in the field, the size of the land, the abundance of soil had different opinions in factors effecting to changing of farmers’ behaviors to increase organic fertilizer utilization were at 0.05 significantly statistic level. On the contrary, the ones with different fertilizer usage, source of income, land tenure, number of labor in family, knowledge in production and organic fertilizer utilization were not significantly different  4) Strategies to motivate in changing of farmers’ behaviors to increase organic fertilizer utilization should be health promotion or public relations and government policy as priority to succeed faster.

 

Keywords : motivation, farmers, organic fertilizer utilization.

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น