ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่องระบบจำนวนเต็มของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT
 เจ้าของผลงาน  นางสาวกนกภรณ์ ปานพูน
 ปีการศึกษา  2564
 ประเภท  วิทยานิพนธ์
 คณะ  คณะศึกษาศาสตร์
 หลักสูตร  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
 สาขา  หลักสูตรและการเรียนการสอน
 จำนวนหน้า  182 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือเทคนิค TGT ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชา
คณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือเทคนิค TGT หลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ ร้อยละ 75 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มี
ต่อการจัดการเรียนรู้แบร่วมมือเทคนิค TGT แบบการวิจัย ใช้ One Group Pre-test Post-test
Design กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนอ่างห้วยยาง อำเภอเมือง
นครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน
โดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดย
การจัดการเรียนรู้แบบ TGT เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 6 แผน มีค่าเฉลี่ย
ความเหมาะสมของแผนเท่ากับ 4.82 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์
เรื่องระบบจำนวนเต็ม มีค่าความยาก (p) อยู่ระหว่าง 0.24-0.90 ค่าอำนาจจำแนก (r) อยู่ระหว่าง
0.21-0.79 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.92 3) แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้
แบบร่วมมือเทคนิค TGT มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.53-0.84 และค่าความเชื่อมั่น
เท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าเฉลี่ย ส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ
ทดสอบ t-test (dependent sample)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติติที่
ระดับ .01
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีความพึงพอใจต่อการเรียนรู้โดยการจัดการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือเทคนิค TGT โดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น