การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัญหาหรือ ผลกระทบจากการบุกรุกของช้างป่า (2) เพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการบุกรุก ของช้างป้า และ (3) เพื่อศึกษาความคาดหวังการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆ ในการแก้ไขปัญหา การบุกรุกของช้างป่าในเขตตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ประชากรคือ เกษตรกรในพื้นที่ตำบลท่าตะเกียบ อำเภอท่าตะเกียบ จังหวัดฉะเชิงเทรา ที่ได้รับผลกระทบจากการที่ ช้างป่าเข้ามาบุกรุกทำลายในปี พ.ศ. 2562-2564 จำนวน 30 ครัวเรือน และผู้นำชุมชุมชน 5 คน เครื่องมือการวิจัยใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก (In-Depth Interview) และวิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีวิเคราะห์ เนื้อหา (Content Analysis) ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัญหาหรือผลกระทบจากการบุกรุกของช้างป้า ได้แก่ ผลกระทบต่อชีวิตและทางด้าน จิตใจของประชาชน ผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของประชาชน โดยเฉพาะอาชีพเกษตรกรรม ทำ ให้พืชผลทางการเกษตรเสียหาย ผลกระทบทางสังคม ทางความคิด ทำให้เกิดความขัดแย้งกันระหว่าง คนที่มีความคิดเชิงอนุรักษ์กับคนที่มีความคิดนำช้างกลับเข้าสู่ป้า และผลกระทบทางด้านการใช้ งบประมาณ ทรัพยากรในการป้องกันและแก้ไขปัญหา ทำให้ต้องใช้ทรัพยากรต่างๆ เพื่อดำเนินการ ป้องกันการบุกรุก ทำลายของช้างป่า 2. ข้อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขปัญหาการบุกรุกของช้างป่า ดังนี้ สร้างสิ่งกีดขวางเพื่อ ป้องกันการบุกรุกของช้างป่า จัดจ้างบุคลากรเพื่อเฝ้าระวังการบุกรุกและผลักดันช้างป่า สร้างแหล่ง อาหารช้างป่าให้อุดมสมบูรณ์ ทำแนวเขตพื้นที่ป่าอนุรักษ์ให้ชัดเจนและออกมาตรการป้องกัน ประชาชนบุกรุก ส่งเสริมการปลูกพืชที่ช้างไม่กินเป็นอาหาร การใช้มาตรการอื่น ๆ ในการป้องกันการ บุกรุกทำลายของช้างป่า
3. ความคาดหวังการสนับสนุนจากหน่วยงานต่างๆในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกของช้างป้า ภาครัฐควรจ่ายค่าชดเชยและค่าเสียหายในอัตราเท่ากับที่ได้รับความเสียหาย ภาครัฐควรจัดจ้าง บุคลากรเพื่อเฝ้าระวังการบุกรุกและผลักดันช้างป่า ภาครัฐและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรทำงาน ร่วมกับประชาชนให้มากยิ่งขึ้น |