ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง | การฝังเข็มรักษาโรคปวดเอวด้วยจุดโส่วซานหลี่ ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา |
เจ้าของผลงาน | อาจารย์แพทย์จีนวิไรรัตน์ อนันตกลิ่น แพทย์จีนอรธีรา เนาว์ชารี |
ปีการศึกษา | 2557 |
ประเภท | งานวิจัย |
คณะ | คณะการแพทย์แผนจีน |
หลักสูตร | - |
สาขา | แพทย์แผนจีน |
จำนวนหน้า | 20 หน้า |
บทคัดย่อ (Abstract) | บทคัดย่อ เมื่อกล่าวถึงการแพทย์แผนจีนนั้น หลายๆ คนมักคิดว่าคือหมอแมะ หรือ หมอฝังเข็ม แต่จริงๆ แล้วการแพทย์แผนจีนไม่ได้หมายถึงแต่เพียงหมอแมะ หรือ หมอฝังเข็มเท่านั้น แต่การแพทย์แผนจีนสามารถแบ่งเป็นแผนกต่างๆ เช่น นวดทุยหนา สูตินารีเวชแผนจีน กุมารเวชแผนจีน อายุรกรรมภายใน อายุรกรรมภายนอก ซึ่งการแพทย์จีนมีประวัติยาวนานกว่าห้าพันปี โดยมีคัมภีร์ที่กล่าวถึงการแพทย์แผนจีนเล่มแรกชื่อว่า หวงตี้เน้ยจิง ในคัมภีร์ได้เขียนเกี่ยวกับความเป็นมาของอิน หยาง ปัญจธาตุ อวัยวะตันทั้งห้า อวัยวะกลวงทั้งหก และมีการกล่าวถึงการฝังเข็มด้วยทฤษฎี Holographic(全息理论) ผู้ป่วยส่วนมากเมื่อรักษาโรคด้วยการฝังเข็ม ส่วนมากแพทย์ที่ให้การรักษาก็จะฝังครั้งละหลายๆ เข็ม แต่จริงๆ แล้วการฝังเข็มนั้นสามารถฝังเพียง 1-2 เข็มก็สามารถรักษาอาการเจ็บป่วยได้เช่นกัน หัวหน้าผู้วิจัยได้เล็งเห็นความสำคัญของการฝังเข็มน้อยเข็มเพื่อลดความเจ็บขณะลงเข็มและเพื่อลดการกลัวของผู้ป่วย จึงนำทฤษฎีHolographic(全息理论)มาใช้ในการรักษาโรคปวดเอว ซึ่งเป็นโรคที่พบบ่อยมากในวัยคนทำงาน หรือผู้ใหญ่ ประมาณร้อยละ 80 ของผู้ป่วยจะมีอาการปวดหลังอย่างน้อยหนึ่งครั้งในชีวิต ส่วนมากจะหายเองได้ภายใน 1 – 2 สัปดาห์ ถ้าผู้ป่วยมีอาการปวดหลังเกิดขึ้นภายใน 3 เดือน ถือว่าปวดเฉียบพลัน แต่ถ้าปวดติดต่อกันนานๆ เกิน 3 เดือน ถือว่าเป็นการปวดเรื้อรัง อาการปวดอาจปวดตื้อ ๆ ปวดเสียดแทง ปวดตุ๊บ ๆ อาการปวดในแต่ละคนไม่เหมือนกัน บางคนปวดร้าวขาข้างใดข้างหนึ่ง บางครั้งมีอาการชา ขาอ่อนแรงก็ได้ตามศาสตร์การแพทย์แผนจีนเกิดจากลมปราณและโลหิตในร่างกายไหลเวียนผิดปกติ การฝังเข็ม เป็นวิธีการแทงเข็มรักษาโรคด้วยการใช้เข็ม ซึ่งมีหลายขนาด แทงลงไปตรงตำแหน่งของจุดฝังเข็มตามอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย โดยใช้หลักการรักษาของแพทย์แผนจีน เพื่อผ่อนคล้ายกล้ามเนื้อ เส้นเอ็นและปรับระบบการไหลเวียนของพลังลมปราณ พลังโลหิต ทำให้โลหิตลมปราณไหลเวียนสะดวก ทำให้สิ่งที่ยึดติดต่างๆ คลายตัว ทำให้อวัยวะนั้นๆ มีประสิทธิภาพในการทำงานได้ดีขึ้น ทฤษฎี Holographic(全息理论)คือทฤษฎีที่กล่าวถึงในทุกๆอวัยวะจะมีการแบ่งตำแหน่งของส่วนต่างๆ ร่างกายไว้ ทฤษฎี Holographic(全息理论)มีการกล่าวถึงครั้งแรกในคัมภีร์หวงตี้เน้ยจิง ต่อมานายแพทย์จางอิ่งชิงได้นำทฤษฎีมาศึกษาต่อและนำแต่งหนังสือเซิงอู่ชวนซีเหลียวฝ่า 《生物全息疗法》เขียนถึงวิธีการใช้ทฤษฎีนี้ จากทฤษฎี Holographic(全息理论)บริเวณข้อศอกถึงข้อมือ สามารถแบ่งเป็น 3 ส่วนบริเวณส่วนบนคือตำแหน่งของศีรษะ คอ ทรวงอก หัวใจและปอด ส่วนกลางคือตำแหน่งของม้าม กระเพาะอาหาร ตับและกะบังลม ส่วนล่างคือตำแหน่งของไต ชายโครง ท้องน้อย เอว ต้นขาและเท้า ซึ่งจุดโส่วซานหลี่ในส่วนล่างด้านนิ้วหัวแม่มือบนหลังแขนใกล้กับข้อพับแขน จุดนี้เป็นตำแหน่งของเอวและต้นขา จากทฤษฎีนี้จึงใช้จุดนี้ในการรักษาโรคปวดเอวได้ จุดโส่วซานหลี่ (LI10, ShouSanLi) เป็นจุดบนเส้นลมปราณมือไท่อินปอด อยู่ระหว่างจุดหยางซีและจุดซวี ฉือ โดยอยู่ห่างจากจุดซวีฉือลงมา 2 ชุ่น ประสิทธิภาพในการรักษาของจุดนี้คือ รักษาอาการปวดข้อศอก ปวดเอว ปวดต้นแขน ปวดท้อง ท้องเสีย ปวดฟัน ชาแขน อัมพฤกษ์ครึ่งซีก เสียงแหบ และรักษาโรคของระบบการย่อยอาหาร กลุ่มตัวอย่างเป็นวิธีการเลือกแบบแบบเจาะจง (Purposive Sampling) คือเป็นผู้เข้ารับการการฝังเข็มรักษาโรคปวดเอว ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อําเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 50 คน ซึ่งมาจาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบสอบถามจำนวน 4 ข้อ ชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ คณะผู้วิจัยทำการวิจัยโดยการใช้เข็มเบอร์ 25 ยาว 1 ชุ่นครึ่ง ฝังลึก 0.5-0.8 ชุ่น ที่จุดโส่วซานหลี่ของแขนทั้งสองด้านให้กับกลุ่มตัวอย่างในท่านั่ง กระตุ้นเช็มจนกลุ่มตัวอย่างรู้สึกชา ดึง ปวด จากนั้นใช้วิธีกระตุ้นแบบถีชาและหมุนเข็มทั้งวิธีการระบายและทั้งการบำรุง ฝังทิ้งไว้ 20 นาที กระตุ้นเข็ม 3-5 ครั้ง ในขณะที่กระตุ้นเข็มก็ให้ผู้ป่วยขยับเอว หมุนเอว ก้ม – เงยหลังไปด้วย ผลการวิจัยเรื่องการฝังเข็มรักษาโรคปวดเอวด้วยจุดโส่วซานหลี่ ณ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา พบว่า ผู้ที่มารับบริการฝังเข็มรักษารักษาโรคปวดเอวด้วยจุดโส่วซานหลี่ส่วนมากเป็นเพศชาย 32 คน คิดเป็นร้อยละ 64 เพศหญิง 18 คน เป็นร้อยละ 36 ผู้ป่วยส่วนมากมีอายุ 30-39 ปี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 44 ระยะเวลาในการเป็นโรคส่วนมาก 6 เดือน - 1 ปี จำนวน 17 คน คิดเป็นร้อยละ 34 คณะผู้วิจัยทำการวิจัยโดยการใช้เข็มเบอร์ 25 ยาว 1 ชุ่นครึ่ง ฝังลึก 0.5-0.8 ชุ่น ที่จุดโส่วซานหลี่ของแขนทั้งสองด้านให้กับกลุ่มตัวอย่างในท่านั่ง กระตุ้นเช็มจนกลุ่มตัวอย่างรู้สึกชา ดึง ปวด จากนั้นใช้วิธีกระตุ้นแบบถีชาและหมุนเข็มทั้งวิธีการระบายและทั้งการบำรุง ฝังทิ้งไว้ 20 นาที กระตุ้นเข็ม 3-5 ครั้ง ในขณะที่กระตุ้นเข็มก็ให้ผู้ป่วยขยับเอว หมุนเอว ก้ม – เงยหลังไป ด้วย ผลการวิจัยพบว่าผู้ป่วยหายดีทั้งหมดจำนวน 15 คน คิดเป็นร้อยละ 30 ทุเลาลงมาก 21 คน คิดเป็นร้อยละ 42 ทุเลาลง 8 คน คิดเป็นร้อยละ 16 ทุเลาลงเล็กน้อย 6 คน คิดเป็นร้อยละ 12 ไม่ทุเลาลงเลย 2 คน คิดเป็นร้อยละ 4 สรุปการวิจัยนี้ได้ผลร้อยละ 96
|
เอกสารฉบับเต็ม (Full)
เฉพาะสมาชิกเท่านั้น