ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการทำงานเป็นทีมของครู ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1
 เจ้าของผลงาน  นางสาวสุครรพิญา พัชราชีวิน
 ปีการศึกษา  2565
 ประเภท  วิทยานิพนธ์
 คณะ  คณะศึกษาศาสตร์
 หลักสูตร  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
 สาขา  การบริหารการศึกษา
 จำนวนหน้า  100 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 2) เพื่อศึกษาการทำงานเป็นทีมของครในสังสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการทำงาน
เป็นทีม ของครู่ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 1
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระบุรี เขต 1
จำนวน 297 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า มีค่าดัชนีความสอดดดคล้อง อยู่
ระหว่าง .08-1.00 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.886 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน
ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาสระบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยต้านการสร้างแรงบันดาลใจมีค่าเฉลียสูงที่สุด รองลงมา
คือ ด้านการสร้างบารมี และด้านการกระตุ้นทางปัญญา ส่วนด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจเจกบุคคล มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด
2) การทำงานเป็นทีมของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา สระบุรี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับ
มาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การติดต่อสื่อสารในกลุ่ม มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ การมีส่วนร่วมในการ
ดำเนินงาน การมีวัตถุประสงค์และเป้าหมายร่วมกัน การจัดรูปแบบการดำเนินงานและการจัดการทีม และสมาชิก
ภายในทีมแสดงบทบาทหน้าที่ของตนเองอย่างเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3) การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะ
ผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารกับการทำงานเป็นทีมของครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สระบุรี เชต 1 มีความสัมพันธ์ทางบวกทุกด้านอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 อยู่ในระดับต่ำถึงระดับปานกลานกลาง เมื่อ
พิจารณาเป็นรายต้าน พบว่า ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล มีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ มากที่สุด รองลงมา
คือ ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการสร้างบารมี

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น