ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง | การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแนวคิดของแฮร์โรว์ร่วมกับ STAD |
เจ้าของผลงาน | นางสาวลฎาภา เหมะพงศธร |
ปีการศึกษา | 2564 |
ประเภท | วิทยานิพนธ์ |
คณะ | คณะศึกษาศาสตร์ |
หลักสูตร | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขา | หลักสูตรและการเรียนการสอน |
จำนวนหน้า | 217 หน้า |
บทคัดย่อ (Abstract) | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการทดลองและการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป และศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องเสียง โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น ร่วมกับผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนตำบลโคกกรวด (ผดุงรัฐประชานุกูล) จำนวน 1 ห้องเรียน ทั้งหมด 42 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียง ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น ร่วมกับผังมโนทัศน์ และ (2) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการทดลองและการตีความหมายข้อมูลและลงข้อสรุป และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการศึกษาพบว่า 1. ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ด้านการทดลอง และการตีความหมายข้อมูลและ ลงข้อสรุป หลังจากการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น ร่วมกับ ผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 18.55 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 74.19 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียนที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ จำนวน 30 คน คิดเป็นร้อยละ 71.43 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70/70 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง เสียง หลังจากการจัดการเรียนรู้แบบ สืบเสาะหาความรู้ตามวัฏจักรการเรียนรู้แบบ 7 ขั้น ร่วมกับผังมโนทัศน์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ได้คะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 15.10 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 75.48 ของคะแนนเต็ม และมีนักเรียน ที่ได้คะแนนผ่านเกณฑ์ จำนวน 33 คน คิดเป็นร้อยละ 78.57 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70/70 |
เอกสารฉบับเต็ม (Full)
เฉพาะสมาชิกเท่านั้น