ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง พระพุทธศาสนา โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบหนังสืออ่านเพิ่มเติมชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
 เจ้าของผลงาน  นางสาวสราญลักษณ์ บุญรักษา
 ปีการศึกษา  2564
 ประเภท  วิทยานิพนธ์
 คณะ  คณะศึกษาศาสตร์
 หลักสูตร  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
 สาขา  หลักสูตรและการเรียนการสอน
 จำนวนหน้า  174 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD
ประกอบหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เรื่อง พระพุทธศาสนา ให้มีประสิทธิภาพตาม
เกณฑ์ 80:80 และ (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียน
โดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 และ
เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ประชากรการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเมืองเลย เชต 1
เฉพาะเขตอำเภอเมือง 13 แห่ง จำนวนนักเรียน 269 คน กลุ่มตัวอย่างการวิจัยได้แก่ นักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านก้างปลา อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย ซึ่งเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปี
การศึกษา 2562 จำนวน 16 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้
หน่วยการสุ่มเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แผนการจัดการเรียนรู้ ร่วมกับหนังสืออ่าน
เพิ่มเติม และแบบทดลอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าดัชนีความสอดดคล้องของของ
ข้อคำถามกับจุดประสงค์ (IOC) มีค่าตั้งแต่ 0.60-1.00 และแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าความเชื่อมั่น
เท่ากับ 0.85 โดยใช้วิธี Kuder Richardson 20 (KR-20) ซึ่งมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.43-0.71 และ
ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.29-0.57 รูปแบบการวิจัยใช้ One Group Per-test Post-test Design
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติ
ทดสอบ t - test
ผลการศึกษาพบว่า
1. ประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบหนังสืออ่านเพิ่มเติม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีประสิทธิภาพ (E : Eg) ค่าเท่ากับ 81.88 : 86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80 เป็นไป
ตามสมมติฐานการวิจัยที่ตั้งไว้
2. คะแนนความก้าวหน้าและรางวัลของแต่ละกลุ่มที่เรียนโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 เมื่อคิดคะแนนก้าวหน้าทั้ง
4 กลุ่ม มีค่าเฉลี่ยสูงกว่าคะแนนฐาน ซึ่งสอดคล้องกับเกณฑ์ที่กำหนด และได้รับการยกย่อง
3. ผลสัมฤทธ์ิทางการเรียนโดยใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ประกอบหนังสือ
อ่านเพิ่มเติม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น