ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  ผลของโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากในเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลปังกู อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
 เจ้าของผลงาน  นางสุธิษา พรหมเอาะ
 ปีการศึกษา  2567
 ประเภท  วิทยานิพนธ์
 คณะ  คณะสหเวชศาสตร์
 หลักสูตร  สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต
 สาขา  การจัดการสร้างเสริมสุขภาพ
 จำนวนหน้า  140 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  
การวิจัยกึ่งพดลองนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรมภรมการประทุกดิ์พฤษฎีฯ
สนับสนุนทางสังคมของผู้ดูแลต่อพฤดิกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปากในเด็ก ของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อน
วัยเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลปังกู อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยแบ่ง
ออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผู้ดูแลเด็ก จำนวน 35 คน เป็นกลุ่มทดลอง โดยได้รับโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรง
สนับสนุนทางสังคมที่สร้างขึ้น และผู้ดูแลเด็ก จำนวน 35 คน เข้าร่วมกิจกรรม เป็นกลุ่มควบคุม ได้รับ
โปรแกรมตามปกติ โดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ โปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรง
สนับสนุนทางสังคม แบบสอบถาม แบบประเมิน และแบบบันทึกอัตราป่วย วิเคราะห์ข้อมูลโดยหา
ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (Paired Sample t-test,
Independent sample t-test)
ผลการศึกษา พบว่า
1. ภายหลังกรได้รับโปรแกรมการประยุกท์พท์พฤษฎีแรรรนับสนุบทางสังคม ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์
พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลปังกู อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่ม
ทดลอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก พฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปาก และทักษะ
การล้างมืออย่างถูกวิธี ดีขึ้นกว่าก่อนการได้รับโปรแกรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติติที่ระดับ 0.01
2. ภายหลังการได้รับโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม ผู้ดูแลเด็ก ศูนย์
พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลปังกู อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ กลุ่ม
ทดลอง มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคมือเท้าปาก พฤติกรรมการป้องกันโรคมือเท้าปาก และทักษะ
การล้างมืออย่างถูกวิธีขึ้นกว่ากลุ่มควบคุม อย่างนี้นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
3. ภายหลังการได้รับโปรแกรมการประยุกต์ทฤษฎีแรงสนับสนุนทางสังคม เด็กก่อนวัยเรียน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กก่อนวัยเรียน องค์การบริหารส่วนตำบลปังกู อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ไม่พบ
อัตราป่วยด้วยโรคมือเท้าปาก

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น