ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  รูปแบบการส่งมอบบริการที่มีคุณภาพกรณีศึกษาสหกรณ์การเกษตร ขนาดใหญ่มากในจังหวัดนครราชสีมา
 เจ้าของผลงาน  ประสิทธิ์ หงาสูงเนิน
 ปีการศึกษา  2558
 ประเภท  วิทยานิพนธ์
 คณะ  คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
 หลักสูตร  บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
 สาขา  บริหารธุรกิจ
 จำนวนหน้า  127 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความคาดหวังและระดับการรับรู้ต่อการให้บริการของสหกรณ์การเกษตรขนาดใหญ่มากในจังหวัดนครราชสีมา 2) เปรียบเทียบระดับความคาดหวัง จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของสมาชิก 3)เปรียบเทียบระดับการรับรู้ จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคลของสมาชิก 4) เพื่อเปรียบเทียบระดับความคาดหวังและระดับการรับรู้ ของสมาชิก  5) เพื่อให้ได้รูปแบบการส่งมอบบริการที่มีคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่เป็นสมาชิกสหกรณ์ จำนวน 400 คน ได้มาโดยวิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าสถิติร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความน่าจะเป็น ทดสอบสมมติฐานด้วย T-test และOne-way ANOVA ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกสหกรณ์ผู้ใช้บริการส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 31-40 ปี การศึกษาอยู่ในระดับต่ำกว่าปริญญาตรี มีรายได้อยู่ระหว่าง 100,001-200,000 บาทต่อปี ระยะเวลาเข้าเป็นสมาชิกสหกรณ์การเกษตรต่ำกว่า 10 ปี และส่วนใหญ่มาใช้บริการเกี่ยวกับธุรกิจสินเชื่อ    2) ความคาดหวังของสมาชิกต่อคุณภาพการให้บริการของสหกรณ์ฯ โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยจำนวน 3 อันดับ อันดับแรกคือ ด้านการเอาใจใส่ ด้านจริยธรรม และด้านความน่าเชื่อถือ ตามลำดับ 3) การรับรู้ของสมาชิกต่อคุณภาพการให้บริการของสหกรณ์การเกษตรขนาดใหญ่มากในจังหวัดนครราชสีมา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย จำนวน 3 อันดับแรกคือ ด้านการเอาใจใส่ ด้านจริยธรรม และด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ตามลำดับ 4) สมาชิกที่มีอายุแตกต่างกันมีความคาดหวังต่อคุณภาพการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสมาชิกที่มีเพศ ระดับการศึกษา รายได้ต่อปี ระยะเวลาการเข้าเป็นสมาชิก ประเภทการใช้บริการแตกต่างกันมีความคาดหวังต่อคุณภาพการให้บริการแตกต่างกันอย่างไม่มีมีนัยสำคัญทางสถิติ 5) สมาชิกที่มีประเภทการใช้บริการแตกต่างกันมีการรับรู้ต่อคุณภาพการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนสมาชิกที่มีเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อปี ระยะเวลาการเข้าเป็นสมาชิก แตกต่างกันมีความคาดหวังต่อคุณภาพการให้บริการแตกต่างกันอย่างไม่มีมีนัยสำคัญทางสถิติ 6) ค่าเฉลี่ยของการรับรู้ของสมาชิกต่อคุณภาพบริการสูงกว่าค่าเฉลี่ยของความคาดหวัง ซึ่งแตกต่างกัน 7) รูปแบบการส่งมอบบริการที่มีคุณภาพของสหกรณ์ที่ได้คือ การบริการที่ให้ความสำคัญในด้านการเอาใจใส่ ด้านจริยธรรม และด้านการตอบสนองต่อลูกค้า ซึ่งสามารถเป็นต้นแบบให้กับสหกรณ์ขนาดเล็กหรือต่ำกว่า ได้นำไปพัฒนา ปรับปรุงคุณภาพการให้บริการต่อสมาชิกให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

 

          This purpose of the research was 1) to study the expectation level and the level of perception to service of large agricultural cooperatives in Nakhon Ratchasima province.2) to compare the expectation level that classified by the personal characteristic of member.3) to compare the perception level that classified by the personal characteristic  of member.4) to compare the level of expectation and the perception level of members. 5) the quality service delivery model. The sample was 400 members of agricultural cooperatives with purposive random sampling. The data was collected by questionnaires and the reliability was 0.91. The data analysis was used percentage, mean, standard deviation, T-test, and F-test (One way ANOVA).

                The result of the research revealed that 1) the majority of  agricultural cooperative ‘s member was male who had aged between 31-40 years, the educational level was lower than bachelor degree, income was between 100,001-200,000 bath per year, the length of membership in agricultural cooperatives was lower than 10 years and the majority of service about loans business. 2)  the expectation of members to quality service of agricultural cooperatives, the overall and each aspect, ranked in ascending order of means; the empathy, the ethical  and the reliable respectively. 3) the perception of member to quality service of large agricultural cooperatives in Nakhon Ratchasima province, the overall and each aspect were at the high level, ranked in ascending order of means; the empathy, the ethical and the customer response respectively. 4) the different age of members had the expectation to quality service by statistically significant difference at.05. By the different gender, educational level ,annual income, the length of membership, service type of members had the expectation to quality service without statistically significant difference. 5) the different service type of member had the perception to quality service with statistically significant difference at .05. By the different gender , age , educational level , annual income and the length of membership had the expectation to quality service no statistically significant difference.6 )  the average of perception of members to  quality service was higher than the average of expectation.7) the quality service delivery model of large agricultural cooperatives was the signifcant service in the empathy, the ethical and the customer response that can be a model for small and lower agricutural cooperatives and will develop and improve the quality of service to members more effictively.

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น