บทคัดย่อ (Abstract) |
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่องชีวิตสัตว์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ด้วย กระบวนการสืบเสาะหาความรู้แบบ 5E 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ เรื่อง ชีวิตสัตว์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 หลังการจัดการเรียนรู้ด้วยกระบวนการสืบเสาะหา ความรู้แบบ 5E กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 3 ที่ได้รับการสอนแบบสืบเสาะหาความรู้ (5E) ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 2 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านโนนเพชร จำนวนนักเรียน 10 คน และโรงเรียนบ้านโจด จำนวนนักเรียน 10 คน รวมจำนวนนักเรียนทั้งหมด 20 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านโนนเพชร จำนวนนักเรียน 10 คน ซึ่งได้มาด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบ กลุ่ม (Cluster sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยกระบวนการ สืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) 2) แบบทดสอบผลวัดสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ 3) แบบสอบถามความความ พึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (Mean), ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (5.D.) และ การทดสอบค่าทีแบบไม่อิสระต่อกัน (t-test dependent sample) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .01 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น (5E) มีคำเฉลี่ยเท่ากับ 4.57 ซึ่งอยู่ในระดับความมากที่สุด |