ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชน
 เจ้าของผลงาน  รุจินันท์ วาธีวัฒนารัตน์
 ปีการศึกษา  2563
 ประเภท  งานวิจัย
 คณะ  คณะนิติศาสตร์
 หลักสูตร  -
 สาขา  นิติศาสตร์
 จำนวนหน้า  14 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  
ปัญหากฎหมายเกี่ยวกับที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชน ทำการศึกษาทั้งนิยามศัพท์ ความหมาย รูปแบบวิธีการและลักษณะต่างๆ ของกฎหมายที่เกี่ยวข้องในปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการศึกษาหลักเกณฑ์และมาตรการกฎหมายที่มีอยู่ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว และวิธีพิจารณาคดี
เยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 พระราชบัญญัติทนายความ พ.ศ. 2528 ข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ. 2529 และข้อบังคับประธานศาลฎีกา ว่าด้วยการอบรม ระเบียบปฏิบัติของที่ปรึกษากฎหมายการจดแจ้งและลบชื่อออกจากบัญชี พ.ศ. 2556 และบทบัญญัติของกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนอำนาจหน้าที่ของหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชน พร้อมกับศึกษากฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวกับการจัดให้มีที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชนด้วย ผู้วิจัยทำการศึกษาปัญหากฎหมายเกี่ยวกับที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชน โดยใช้วิธีการวิเคราะห์เอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์ระดับลึก จากการศึกษาพบว่า ปัญหาเกี่ยวกับที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชนมีหลายประการด้วยกัน คือ ประการที่หนึ่ง เรื่องมาตรการการบังคับมรรยาทของที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชน ในส่วนของการปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชนร่วมกับพนักงานสอบสวน ไม่ได้มีการกำหนดมาตรการลงโทษของการไม่เข้าร่วมสอบสวนของที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชนไว้ เพราะหากไม่เข้าร่วมการสอบสวนจะมีผลต่อการฟ้องคดีของพนักงานอัยการ ถึงแม้ว่าจะมีทางแก้โดยวิธีให้ที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชนที่ไม่ร่วมสอบสวนตามที่กฎหมายกำหนดให้มีที่ปรึกษากฎหมายต้องเข้าร่วมสอบปากคำ โดยให้มีการระบุหมายเหตุแห่งการไม่มา และให้ถือว่าเป็นการสอบสวนโดยพนักงานสอบสวนสรุปสำนวนเสนอตรวจตามลำดับชั้น เพื่อส่งให้พนักงานอัยการส่งฟ้องได้ ซึ่งในกรณีที่พนักงานอัยการไม่รับสำนวนดังกล่าวเพราะไม่มีที่ปรึกษากฎหมายที่ศาลเยาวชนและครอบครัวแต่งตั้งพนักงานอัยการจะส่งสำนวนคืนให้กับพนักงานสอบสวนอันเป็นการส่งผลต่อระยะเวลาในการฟ้องคดีของพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการตามลำดับ ประการที่สอง กระบวนการตรวจสอบการจับกุมที่ศาลที่เกี่ยวกับที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชนเป็นเพียงมาตรการที่ทำขึ้นเพื่อรองรับสิทธิของเด็กหรือเยาวชนเท่านั้น แต่ไม่มีกระบวนการที่ครอบคลุมตามอนุสัญญาว่าด้วยสิทธิเด็กและพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 โดยเฉพาะสิทธิเรื่องการรักษาความลับและการให้ความช่วยเหลือจากที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชนอย่างเต็มที่ ประการที่สาม เรื่องการสอบปากคำเด็กหรือเยาวชนพระราชบัญญัติ ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 มิได้บัญญัติถึงกรณีที่บุคคลที่กฎหมายกำหนดไว้หากไม่อาจเข้าร่วมสอบปากคำได้ ว่าจะมีผลทางกฎหมายอย่างไร ประการที่สี่ ปัญหาเกี่ยวกับความรู้ความสามารถและโอกาสในการปฏิบัติงานของที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชนไม่เป็นไปอย่างเต็มที่และไม่มีกฎหมายกำหนดอำนาจหน้าที่การปฏิบัติงานไว้อย่างชัดเจนเพียงพอแต่การให้คำปรึกษาแก่เด็กหรือเยาวชน และประการที่ห้า สิทธิในการโต้แย้งการปฏิบัติงานของที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชน ยังไม่มีข้อบังคับที่กำหนดหลักเกณฑ์หรือบุคคลที่เกี่ยวข้องการอุทธรณ์การปฏิบัติหน้าที่ของที่ปรึกษากฎหมายของเด็กหรือเยาวชน และประการสุดท้ายเรื่องปัญหาในการแต่งตั้งทนายความหรือที่ปรึกษากฎหมายให้กับฝ่ายผู้ฟ้องคดีเด็กหรือเยาวชน ที่ไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ฟ้องคดีเพื่อทำหน้าที่ในการให้คำปรึกษากฎหมาย จากปัญหาดังกล่าวจะเห็นว่ามีความสำคัญและจำเป็นที่ต้องทำการศึกษา ค้นคว้าและวิจัยในข้อกฎหมายและปัญหาที่เกี่ยวกับที่ปรึกษากฎหมายตามพระราชบัญญัติและกฎหมายที่เกี่ยวข้องดังกล่าวเพื่อนำไปสู่แนวทางในการแก้ไขปัญหาในภายภาคหน้าต่อไป

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น