บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความคิดเห็นของพระสังฆาธิการต่อการ บริหารงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์ และ (2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของพระ สังฆาธิการต่อการบริหารงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์ จำแนกตามปัจจัยส่วน บุคคล การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรในการวิจัย คือ คณะสงฆ์สายมหานิกาย และ ธรรมยุตนิกาย ในเขตพื้นที่อำเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีตำแหน่งพระสังฆาธิการ รวมทั้งสิ้น 256 รูป เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลโดยแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ สถิติวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent samples) และพูดสอบความ แตกต่างรายคูโดยวิธีการของเซฟเฟ้ (Scheffe/) ผลการวิจัยพบว่า 1. ความคิดเห็นของพระสังฆาธิการต่อการบริหารงานของสำนักงานพระพุทธศาสนา จังหวัตบุรีรัมย์ 5 ด้าน พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านเรียงลำดับจากมาก ไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการปฏิบัติอื่น ๆ ตามที่กฎหมากกกกาทำพนดให้เป็นบ้านาจหน้าที่ของสำนักพุทธาร ศาสนา ด้านการส่งเสริมและสนับสุนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ด้านการปกครองคณะสงฆ์ ด้าน การเผยแพร่พระพุทธศาสนา และด้านการดูแล รักษา และทำนุบำรุงศาสนสถาน ตามลำดับ 2. พระสังฆาธิการที่มี อายุ ตำแหน่ง วุฒิการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการ บริหารงานของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดบุรีรัมย์ ไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ ระดับ 0.05 |