ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  มาตรการทางกฎหมายเพื่อคุ้มครองเกษตรกร กรณีศึกษาการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542
 เจ้าของผลงาน  รุจินันท์ วาธีวัฒนารัตน์
 ปีการศึกษา  2561
 ประเภท  งานวิจัย
 คณะ  คณะนิติศาสตร์
 หลักสูตร  -
 สาขา  นิติศาสตร์
 จำนวนหน้า  16 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  

การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความจำเป็นในการขอแก้ไข และสภาพการบังคับใช้กฎหมายในปัจจุบัน ความขัดแย้งในประเด็นการขอแก้ไขฯ ทางเลือกและมาตรการที่ควรใช้ในการคุ้มครองเกษตรกร ผู้วิจัยทำการศึกษามาตรการในการคุ้มครองเกษตรกร เป็นกรณีศึกษาเฉพาะการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 โดยใช้วิธีการวิเคราะห์ เอกสาร การสังเกต และการสัมภาษณ์ระดับลึก ผลการวิจัยพบว่า 1) ความจำเป็นในการขอแก้ไขที่สำคัญคือเพื่อการเข้าเป็นภาคีของ The International Union for the Protection of New Varieties of Plants(UPOV) และเพื่อการปฏิรูประบบการเกษตรให้เป็นศูนย์กลางการผลิตเมล็ดพันธุ์พืชของประเทศไทย 2) สภาพการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 พบว่า ปัจจุบันดำเนินการบังคับใช้กฎหมายได้เพียงบางส่วนคือ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองพืชพันธุ์ใหม่ แต่ในส่วนการอนุรักษ์ และการคุ้มครองสิทธิ์ของนักปรับปรุงพันธุ์พืช ยังไม่มีการออกกฎระเบียบในการดำเนินการที่ชัดเจน 3) ความขัดแย้งในประเด็นการขอแก้ไขฯ เกิดจากการขยายสิทธิในการคุ้มครองของนักปรับปรุงพันธุ์พืชหรือ บริษัทพันธุ์พืชมากขึ้น ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กับเกษตรกรและกลุ่มเกษตรกร มีข้อกังวลในเรื่องการไม่สามารถเก็บเมล็ดพันธุ์ไว้ปลูกเอง หรือการกระทำผิดกฎหมายโดยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ และการแสวงหาประโยชน์ของนักลงทุนต่างชาติจากพันธุ์พืชพื้นเมืองที่เป็นมรดกสำคัญของชาติโดย ไม่ได้รับการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเป็นธรรม 4) ทางเลือกในการดำเนินการประกอบด้วย 3 ทางเลือกคือ การใช้ผลจากการประชาพิจารณ์เข้าสู่การบังคับใช้เป็นกฎหมายทันที, การกำหนดให้หน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องไปดำเนินการปรับปรุง ร่วมกันก่อนเข้าสู่การบังคับใช้เป็นกฎหมาย, และการยกเลิกการขอแก้ไขฯ แต่ให้มีการบังคับใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542 อย่างจริงจังควบคู่ไปกับการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และความพร้อมในการแก้ไขพระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืชในอนาคต 5) มาตรการที่ควรใช้ในการคุ้มครองเกษตรกร ประกอบด้วย 4 มาตรการคือ การกำหนดหน่วยงานในการจัดทำบัญชี หรือข้อมูลรายชื่อพันธุ์พืชของไทยให้แล้วเสร็จ โดยเร็ว, การกำหนดรูปแบบให้เกษตรกรหรือท้องถิ่นใช้ประโยชน์จากทรัพยากรพันธุ์พืชในท้องถิ่นควบคู่ไปกับการใช้พระราชบัญญัติคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ. 2542, การสร้างกลไกติดตามเฝ้าระวังการจดทะเบียนการปรับปรุงพันธุ์พืชที่มีการใช้สารพันธุกรรมพันธุ์พืชของไทย, การสร้างความร่วมมือกับกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาที่เป็นแหล่งทรัพยากรความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองทางการค้า

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น