ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง | การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแนวคิดของแฮร์โรว์ร่วมกับ STAD |
เจ้าของผลงาน | นางสาวพัชชาพร พลชนะ |
ปีการศึกษา | 2564 |
ประเภท | งานค้นคว้าอิสระ |
คณะ | คณะศึกษาศาสตร์ |
หลักสูตร | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขา | หลักสูตรและการเรียนการสอน |
จำนวนหน้า | 227 หน้า |
บทคัดย่อ (Abstract) | การวิจัยในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง เทคโนโลยีการสื่อสาร โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแนวคิดของแฮร์โรว์ร่วมกับ STAD 2) เปรียบเทียบทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง เทคโนโลยีการสื่อสาร โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแนวคิดของแฮร์โรว์ร่วมกับ STAD กับเกณฑ์ที่กำหนด และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เทคโนโลยีการสื่อสาร โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแนวคิดของแฮร์โรว์ร่วมกับ STAD กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนปริยัติสามัญนครราชสีมา ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 จำนวน 20 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เทคโนโลยีการสื่อสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแนวคิดของแฮร์โรว์ร่วมกับ STAD จำนวน 5 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เทคโนโลยีการสื่อสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 3) แบบวัดทักษะการปฏิบัติงานรวบยอด เรื่อง เทคโนโลยีการสื่อสาร ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง เทคโนโลยีการสื่อสาร โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแนวคิดของแฮร์โรว์ร่วมกับ STAD สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สถิติทดสอบที (t-test for Dependent Samples และ t-test for One Sample) ผลการวิจัยพบว่า 1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องเทคโนโลยีการสื่อสาร โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแนวคิดของแฮร์โรว์ร่วมกับ STAD พบว่าคะแนนเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแนวคิดของแฮร์โรว์ร่วมกับ STAD สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ 3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้ผสมผสานแนวคิดของแฮร์โรว์ร่วมกับ STAD อยู่ในระดับมาก |
เอกสารฉบับเต็ม (Full)
เฉพาะสมาชิกเท่านั้น