ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์เรื่อง ระบบนิเวศ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
 เจ้าของผลงาน  นางสาวธนภรณ์ แซ่ลิ่ม
 ปีการศึกษา  2564
 ประเภท  วิทยานิพนธ์
 คณะ  คณะศึกษาศาสตร์
 หลักสูตร  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
 สาขา  หลักสูตรและการเรียนการสอน
 จำนวนหน้า  205 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาศาสตร์ เรื่อง
ระบบนิเวศ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้น
มัธยมศึกษาปีที่ 3 และ (2) ศึกษาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบนิเวศ โดยใช้การ
จัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
วิธีดำเนินการวิจัยใช้การวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้นแบบ 1 กลุ่ม วัด 1 ครั้ง (One - Shot Case Study)
กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านอ้อประชาสามัคคี ในภาคการศึกษาที่ 2 ปี
การศึกษา 2563 จำนวน 16 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้
โดยใช้กิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
เรื่อง ระบบนิเวศ จำนวน 8 แผน (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ (3) แบบสังเกต
พฤติกรรมนักเรียน (4) แบบวัดความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ (5) แบบสัมภาษณ์ความคิด
สร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต
ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test (One Sample)
ผลการวิจัยสรุปได้ว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนที่ได้รับ
การจัดการเรียนรู้แบบกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 24.00 ร้อยละ
ของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคือ 81.46 ร้อยละของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 75 ของคะแนนเต็ม
คือ 87.50 และนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์เฉลี่ยร้อยละ 75 อย่างมี
นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
2. ความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังเรียนที่ได้รับ
การจดั การเรยี นร้แู บบกิจกรรมโครงงานวิทยาศาสตร์สร้างสรรค์ มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 13.00 ร้อยละ
ของคะแนนความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์เท่ากับ 82.03 ร้อยละของนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 75
ของคะแนนเต็มคือ 87.50 และนักเรียนมีความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์
เฉลี่ยร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น