ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความพึงพอใจต่อการเรียนวิชาความเข้าใจในการอ่านภาษาไทยพื้นฐานโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักศึกษาจีนชั้นปีที่ 2 มหาวิทยาลัยชนชาติครูกว่างซี
 เจ้าของผลงาน  MRS.HUIHUI LU
 ปีการศึกษา  2565
 ประเภท  วิทยานิพนธ์
 คณะ  คณะศึกษาศาสตร์
 หลักสูตร  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
 สาขา  หลักสูตรและการเรียนการสอน
 จำนวนหน้า  143 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  
วัดอุประสพค์ของการวิจัยคขึ้นี้คือ (1) เพื่อศึกษาขาะแมมความก้าวหน้าของศักษาศึกษาร
เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ระหว่างก่อนเรียน
และหลังเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์75 เปอร์เซ็นต์ของคะนนเต็ม และ(3) เพื่อศึกษาระดับความพึง
พอใจของนักศึกษาจีนชั้นปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรูปแบบร่วมมือเทคนิค STAD พร้อม
กับชุดกิจกรรมความเข้าใจในการอ่านภาษาไทย กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 วิชาเอกภาษาไทย
21 คน ของมหาวิทยาลัยชนชาติครูกว่างซี สาธารณรัฐประชาชนจีน ในภาคการศึกษาที่ 2 ปี
การศึกษา 2564 เลือกโดยวิธีการสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการ
จัดการการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ย 4.90 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.23 จากการประเมินโดย
ผู้เชี่ยวชาญ 5 คน (2) แบบทดสอบปรนัย 4 ตัวเลือกจำนวน 30 ข้อ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ
5 ระดับ 15 รายการ ข้อสอบมีค่าความสอดคล้องกับวัตถุประสงค์(10C) ระหว่าง 0.60 ถึง1.00 และมี
ค่าความยาก 0.40-0.68 ค่าอำนาจจำแนก 0.35-0.52 และ ค่าความเชื่อมั่นของโลเวทท์ 0.84
และ(4) แบบประเมินความพึงพอใจ มีค่าความเที่ยงวิธีแอลฟ้า ครอนบัค 0.87 ใช้แบบการวิจัย One
Group Pretest- Posttest Design สถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่า
เบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบคำสถิติ t
ผลการวิจัยพบว่า (1) คะแนนความก้าวหน้าในภาพรวมของทั้งห้องมีค่าเฉลี่ย 20.48 จาก
คะแนนเต็ม 30 คะแนน ซึ่งอยู่ ในระดับกลุ่ม "ดีมาก" และแยกกลุ่มย่อยมี หนึ่งกลุ่มอยู่ในกลุ่มระดับ
"ยอดเยี่ยม" สามกลุ่มอยู่ในกลุ่มระดับ "ดีมาก" สองกลุ่ม อยู่ในระดับกลุ่ม "ดี" ตามลำดับ (2)
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ
ผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 ของคะแนนเต็มอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติติที่
ระดับ .01 (3) นักศึกษามีความพึงพอใจกับกิจกรรมการเรียนรูปแบบร่วมมือเทคนิค STAD โดยรวมมี
ค่าเฉลี่ย 4.84 อยู่ในระดับมากที่สุด

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น