ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  การศึกษาผลลัพธ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์และความพึงพอใจของนักเรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะเรื่องเวลาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
 เจ้าของผลงาน  นายเจษฎา อรุณแก้ว
 ปีการศึกษา  2564
 ประเภท  วิทยานิพนธ์
 คณะ  คณะศึกษาศาสตร์
 หลักสูตร  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
 สาขา  หลักสูตรและการเรียนการสอน
 จำนวนหน้า  240 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 11 เพื่อศึกษาการจัดการเรืยนรู้แบบรรมมือเทศนิค STAD
ร่วมกับชุดฝึกทักษะ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างหลังเรียนกับก่อนเรียน และ
หลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ 75 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบ
ร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะเรื่องเวลา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในเรื่องนี้ คือ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโนนสำราญวิทยา จังหวัดชัยภูมิ ซึ่งได้มาจากการการสุ่ม
ตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) มีจำนวนนักเรียน 14 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
ประกอบไปด้วย (1)แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือด้วยเทคนิค STAD ชุดแบบฝึก
ทักษะ (2)แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ ที่มีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบ
กับจุดประสงค์การเรียนรู้ (IOC) ตั้งแต่ 0.60 - 1.00 และมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.24 - 0.65 ค่า
อำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.23 - 0.67 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยใช้สูตรของโลเวทมีค่า 0.70 (3)
แบบสอบถามความพึงพอใจเป็นมาตราส่วนประมาณค่า5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้ง
ฉบับโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ้าของครอนบัค เท่ากับ 0.78 รูปแบบการวิจัยคือ แบบ One -
Group Pretest - Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วน
เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมุติฐานการวิจัย โดยใช้การทตสสอบค่าที่
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะเรื่องเวลา มี 7 ขั้น มี
คะแนนความก้าวหน้าเฉลี่ย 22.86 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน ค่า E-/Ez เท่ากับ 89.52/86.19
เป็นไปตามเกณฑ์ 75/75
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้การเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึกทักษะ
เรื่องเวลา มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติติที่ระดับ .01
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดฝึก
ทักษะเรื่องเวลา มีค่าเฉลี่ยเลขคณิตเท่ากับ 4.83 คะแนน มีระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มากที่สุด

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น