ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  การประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการเรียนการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2562) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model)
 เจ้าของผลงาน  นางสาวชาลินี มานะยิ่ง
 ปีการศึกษา  2566
 ประเภท  วิทยานิพนธ์
 คณะ  คณะศึกษาศาสตร์
 หลักสูตร  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
 สาขา  หลักสูตรและการเรียนการสอน
 จำนวนหน้า  195 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  
วัตถุประสงค์ของการวิจัยคือ เพื่อประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
หลักสูตรและการเรียนการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562) โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปปี้
กลุ่มตัวอย่างจำนวน 104 คน ประกอบด้วย (1) อาจารย์ประจำหลักสูตร 14 คน (2) นักศึกษาที่สำเร็จ
การศึกษา 30 คน (3) ผู้บริหารสถานศึกษา 30 คน และ (4) ครูพี่เลี้ยงนักศึกษา 30 คน เครื่องมือการ
วิจัย ได้แก่ (1) แบบประเมินหลักสูตรสำหรับอาจารย์ประจำหลักสูตรและนักศึกษาที่สำเร็จกาจการศึกษา
และ (2) แบบประเมินหลักสูตรสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและครูพี่เลี้ยง สถิติวิเคราะห์ข้อมูลเชิง
ปริมาณได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า
1. ระดับความคิดเห็นจากผลการประเมินหลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชา
หลักสูตรและการเรียนการสอน (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ.2562) พบว่า ด้านบริบทและด้านปัจจัยนำ
พบว่า อาจารย์ประจำหลักสูตรและนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษามีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับ
มากและมีความสอดคล้องกัน
ด้านกระบวนการพบว่า อาจารย์ประจำหลักสูตรความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
และมีความสอดคล้องกัน และนักศึกษาที่สำเร็จการศึกษาความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
ที่สุดและมีความสอดคล้องกัน และ ด้านผลผลิตพบว่าอาจารย์ประจำหลักสูตร นักศึกศึกษาที่สำเร็จ
การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา และครูที่เลี้ยง ความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากและมีความ
สอดคล้องกัน
2. แนวทางการพัฒนาหลักสูตรที่สำคัญ ได้แก่ (1) ด้านบริบท ควรปรับปรุงวัตถุประสงค์ของ
หลักสูตรให้สอดคล้องกับผลลัพธ์การเรียนรู้ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ และ
เพิ่มวัตถุประสงค์ในการผลิตมหาบัณฑิตให้มีความสามารถจัดการเรียนรู้ที่สามารถประยุกต์ทต์ษฎีสู่
การปฏิบัติได้ ควรปรับลดจำนวนหน่วยกิตรวมของการจัดการศึกษาแต่ละแบบให้เหมาะสม และ
เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา (2) ด้านปัจจัยนำเข้า อาจารย์ผู้ผู้สอนควรมีการ
วางแผนร่วมกันในรายวิชาที่สอนร่วมกัน ควรมีแผนพัฒนาอาจารย์อย่างต่อเนื่อง และการกำกับ
ติดตามให้เป็นไปตามแผน (3) ด้านกระบวนการ พัฒนาการวางระบบผู้สอนและกระบวนการจัดการ
เรียนการสอน เพิ่มการกำกับติดตามการจัดการเรียนการสอน (การปฏิบัติ) และ (4) ด้านผลผลิต
พัฒนาผู้เรียนให้เป็นบัณฑิตที่พึงประสงค์ มีคุณลักษณะตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา
แห่งชาติ (TQF)

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น