การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาชั้น พื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ 2) เปรียบเทียบการบริหารแบบมีส่วน ร่วมของผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสุรินทร์ จำแนกตามเพศ ประสบการณ์ ตำแหน่งและขนาดสถานศึกษา 3) ศึกษาแนวทาง การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สุรินทร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ ปีการศึกษา 2565 จำนวน 338 คน เครื่องมืองมือ ที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา อยู่ระหว่าง 0.80-1.0 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.983 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบสมมติฐานด้วยสถิติค่าที (t-test) และ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (F-test) ผลการศึกษาพบว่า 1. การบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษาสุรินทร์ มีระดับการปฏิบัติอยู่ในระดับมากทั้งภาพรวมและรายด้าน โดยด้านที่มีส่วนร่วม สูงสุด คือ ด้านการควบคุม รองลงมา คือ ด้านการนำ และด้านการวางแผน ส่วนด้านที่มีส่วนร่วม ต่ำสุด คือ ด้านการจัดองค์การ 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารแบบมีส่วนร่วมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุรินทร์ พบว่า เพศและประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน ต่างกันมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้ที่มีตำแหน่งงานต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และขนาดสถานศึกษาต่างกันมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการจัดองค์การ ด้านการนำ และด้านการควบคุม |