การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา (2) เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำยุคดิจิทัล ของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานครราชสีมา และ (3) เพื่อศึกษาแนวทางในการส่งเสริมภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและ ครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ปีการศึกษา 2566 จำนวน 351 คน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ และแบบสัมภาษณ์ สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน การทดสอบค่าที่ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1. ภาวะผู้นำยุคติจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานครราชสีมา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก 2. ภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษานครราชสีมา จำแนกตามระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดของ สถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน 3. ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะมบาทางการพัฒนากาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้หาร สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ (2) ด้านกลยุทธ์ดิจิทัล (3) ด้านความรู้ทักษะดิจิทัล (4) ด้านการมี วิสัยทัศน์ดิจิทัล และ (5) ด้านการติดต่อสื่อสาร |