ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง | ผลของการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดกิจกรรมที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และความพึงพอใจเรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 |
เจ้าของผลงาน | นายโชคชัย โสภารักษ์ |
ปีการศึกษา | 2564 |
ประเภท | วิทยานิพนธ์ |
คณะ | คณะศึกษาศาสตร์ |
หลักสูตร | ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต |
สาขา | หลักสูตรและการเรียนการสอน |
จำนวนหน้า | 0 หน้า |
บทคัดย่อ (Abstract) | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดกิจกรรมเรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพ () กำหนดเกณฑ์ 75/75 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนกับหลังเรียนและหลังเรียนกับเกณฑ์ ร้อยละ 75 และ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดกิจกรรมเรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 โรงเรียนมหาไถ่ศึกษาเลย อำเภอเมืองเลย จังหวัดเลย มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 34 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) แผนการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดกิจกรรมคณิตศาสตร์ เรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ ที่มีความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ (IOC) ตั้งแต่ 0.60 – 1.00 และมีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.28 – 0.75 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.20 – 0.45 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยใช้สูตรของ โลเวทมีค่า 0.83 แบบสอบถามความพึงพอใจจำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค เท่ากับ 0.71 ใช้รูปแบบการวิจัยแบบ One - Group Pretest – Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและ t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. การใช้การเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค STAD ร่วมกับชุดกิจกรรมเรื่อง พื้นที่ผิวและปริมาตร ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80.96/78.73 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่ตั้งไว้คือ 75/75 มีขั้นตอนการสอนทั้งหมด 7 ขั้นดังนี้ ขั้นที่ 1 แจ้งวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นที่ 2 ทบทวนความรู้เดิม ขั้นที่ 3 ปฏิบัติการสอนโดยครูผู้สอน ขั้นที่ 4 แบ่งกลุ่มนักเรียนแบบคละความสามารถ ขั้นที่ 5 ปฏิบัติกิจกรรมกลุ่ม ขั้นที่ 6 ทดสอบหลังเรียน ขั้นที่ 7 คิดคะแนนความก้าวหน้าและประกาศผลงานของกลุ่ม 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยรวมทุกด้านมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.59 ซึ่งมีผลค่าระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด |
เอกสารฉบับเต็ม (Full)
เฉพาะสมาชิกเท่านั้น