ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง | อุปนิสัยพฤติกรรมการให้บริการที่ประทับใจของกองส่งกำลังบำรุงศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร |
เจ้าของผลงาน | จ่าสิบโทหญิงปิยะพร ห้วยหงษ์ทอง |
ปีการศึกษา | 2564 |
ประเภท | งานค้นคว้าอิสระ |
คณะ | คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ |
หลักสูตร | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
สาขา | บริหารธุรกิจ |
จำนวนหน้า | 90 หน้า |
บทคัดย่อ (Abstract) | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อศึกษาระดับอุปนิสัยพฤติกรรมการให้บริการที่ประทับใจของกองส่งกำลังบำรุงศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร และ(2) เปรียบเทียบระดับอุปนิสัยพฤติกรรมการให้บริการที่ประทับใจของกองส่งกำลังบำรุงศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหารจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล เป็นวิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ กำลังพลของกองส่งกำลังบำรุงศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 154 คน กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตร ทาโร ยามาเน่ และเลือกแบบเจาะจงเลือกเครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า 1. ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนมากเป็นเพศชาย, อายุระหว่าง 36 – 45 ปี, ดำรงยศ ตำแหน่งสิบเอก – สิบตรี, มีอายุงาน 20 ปีขึ้นไป มีรายได้ระหว่าง 25,001 – 30,000 บาท/เดือน และอุปนิสัยพฤติกรรมการให้บริการที่ประทับใจพบว่าโดยรวมมีระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาตามพฤติกรรมของผู้ให้บริการพบว่ามีระดับมากที่สุดทั้งสองพฤติกรรม ได้แก่ พฤติกรรมที่แสดงออกภายนอก และพฤติกรรมที่แสดงออกภายใน 2. ระดับอุปนิสัยพฤติกรรมการให้บริการที่ประทับใจของกองส่งกำลังบำรุงศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร ต่อพฤติกรรมที่แสดงภายนอกพบวาโดยรวมมีระดับอุปนิสัยมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า มีสองด้านที่มีระดับอุปนิสัยมากที่สุด ได้แก่ ด้านการปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ขององค์กร และด้านปฏิภาณ ไหวพริบ และอีกสองด้านที่มีระดับอุปนิสัยมาก ได้แก่ ด้านการแสดงอากัปกิริยา และด้านบุคลิกภาพ 3. ระดับอุปนิสัยพฤติกรรมการให้บริการที่ประทับใจของกองส่งกำลังบำรุงศูนย์อำนวยการสร้างอาวุธ ศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหารต่อพฤติกรรมที่แสดงภายในโดยรวมมีระดับอุปนิสัยมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่ามีสองด้านที่มีระดับอุปนิสัยมากที่สุดได้แก่ ด้านความรู้สึกนึกคิด และด้านจิตใจ และอีกสองด้านที่มีระดับอุปนิสัยมาก ได้แก่ ด้านอารมณ์และด้านสติปัญญา 4. ผลการเปรียบเทียบอุปนิสัยพฤติกรรมการให้บริการที่ประทับใจที่มี เพศ รายได้ แตกต่างกันพบว่ามีอุปนิสัยพฤติกรรมการให้บริการที่ประทับใจไม่แตกต่างกัน แต่เมื่ออายุ ยศตำแหน่ง อายุงานแตกต่างกัน มีอุปนิสัยพฤติกรรมการให้บริการที่ประทับใจแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 |
เอกสารฉบับเต็ม (Full)
เฉพาะสมาชิกเท่านั้น