การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อบทบาทของผู้บริหารศึกษา ในการนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร จำแนกตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และขนาดโรงเรียน ประชากร ได้แก่ ครูปฏิบัติการสอนในโรงเรียนมัธมศึกษา สังกัดสำนักงานเขต พื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร กลุ่มตัวอย่างจำนวน 335 คน เครื่องมือการวิจัยเป็น แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ใช้ในการ วิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test (Independent Samples) และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ผลการศึกษาพบว่า 1. ระดับความคิดเห็นของครูต่อบทบาพของผู้บริหารสถานศึกษาโมการนำภูปัญญา ท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณา เป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการสนับสนุนทรัพยากร รองลงมาคือ ด้านการจัดทำหลักสูตร และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสด คือ ด้านการวัดและประเมินผล 2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของครูต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำ ภูมิปัญญาท้องถิ่นมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษาสกลนคร พบว่า ครูที่สอนตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ และสอนในโรงเรียนที่มี ขนาดโรงเรียนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการนำภูมิญญาท้องถิ่น มาใช้ในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษาไม่แตกต่างกัน |