การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด ก่อน เรียนและหลังเรียน 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด หลังเรียนกับเกณฑ์ที่กำหนด เทคโนโลยี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด ก่อนเรียน และหลังเรียน และ 4) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโลยี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด หลังเรียนกับเกณฑ์ที่ กำหนดร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม เป็นการวิจัยเชิงทดลองเบื้องต้น แบบแผนการศึกษากลุ่มเดียววัด ก่อนและหลังการทดลอง กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 โรงเรียนบ้านหัวนาคำ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์ จำนวน 20 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบ กลุ่ม โดยใช้ห้องเรียนเป็นฐานในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบ เสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด เรื่อง การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต จำนวน 5 แผน แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิด วิเคราะห์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน Shapiro Wilk Normality Test (W) และ การทดสอบที่
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิหาวิทยาศาสตร์และเพคโนโลยี โดยใช้การ จัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 2) ผลสัมฤทฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้ การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าเกณฑ์ที่ กำหนดร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ความสามารถในการคิด วิเคราะห์วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 5 ขั้น ร่วมกับแผนผังความคิด หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์วิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบ เสาะหาความรู้ 5 ขั้นร่วมกับแผนผังความคิด สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดร้อยละ 75 ของคะแนนเต็ม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |