การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ (1) เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ โดย ใช้รูปแบบการเรียนการสอนวัฏจักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ (2) เพื่อพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนวัฏ จักรการสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 75 กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้น ประถมปีที่ 5 โรงเรียนชุมชนบ้านทรายขาว อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย จำนวน 26 คน ซึ่งได้มาด้วย วิธีสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่ม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 รูปแบบการวิจัยเป็นแบบ One-Group Pretest-Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) แผนการจัด กิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องการเปลี่ยนแปลงของสารในชีวิตประจำวัน จำนวน 5 แผน ซึ่งใช้เวลาในการ สอน จำนวน 15 ชั่วโมง (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจำนวน 30 ข้อ และ (3) แบบวัด ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ สถิติติวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ .05 2. นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |