ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  ความคิดเห็นของผู้ใช้เทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตออฟธิงส์ (loT) ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา
 เจ้าของผลงาน  นางกชนิภา ชยเกษมทรัพย์
 ปีการศึกษา  2564
 ประเภท  งานค้นคว้าอิสระ
 คณะ  คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ
 หลักสูตร  บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
 สาขา  บริหารธุรกิจ
 จำนวนหน้า  91 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  
วัตถุประสงค์การวิจัยคือ (1) เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของผู้ใช้เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา และ (2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ใช้เทคโนโลยี อินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นอำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างคือ บุคลากร 400 คน ของเทศบาลในอำเภอเมืองจำนวน 16 หน่วยงาน และองค์การบริหารส่วนตำบลในอำเภอเมืองจำนวน 11 หน่วยงาน เครื่องมือในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ความถี่ ร้อยละค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน t-test F-test (one-way ANOVA) และทดสอบเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของ Scheffe
ผลการวิจัยพบว่า
1. ความคิดเห็นของผู้ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ในภาพรวมในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านอยู่ในระดับมากที่สุด คือ ด้านการใช้เทคโนโลยี IoT รองลงมา คือ ด้านประโยชน์การใช้เทคโนโลยี IoT และลำดับน้อย คือ ด้านปัญหาการใช้และข้อด้อยเทคโนโลยี
2. ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา จำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคลคลพบว่า (1) เมื่อเพศแตกต่างกันแล้วมีความคิดเห็นของผู้ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าไม่แตกต่าง (2) เมื่ออายุแตกต่างกัน มีความคิดเห็นของผู้ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตออฟธิงส์
(
IoT) ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) เมื่อระดับการศึกษาแตกต่างกัน มีความคิดเห็นของผู้ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (4) เมื่ออายุงานแตกต่างกัน มีความคิดเห็นของผู้ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตออฟธิงส์ (IoT) ในการปฏิบัติงานของหน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น พบว่าแตกต่าง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น