ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกด และทักษะทางสังคมโดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกทักษะ
 เจ้าของผลงาน  นางสาวกนกอร ใจบุญ
 ปีการศึกษา  2564
 ประเภท  วิทยานิพนธ์
 คณะ  คณะศึกษาศาสตร์
 หลักสูตร  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
 สาขา  หลักสูตรและการเรียนการสอน
 จำนวนหน้า  294 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบร่วมมือ
เทคนิค TGT และหาค่าประสิทธิภาพE1: E2 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและ
หลังเรียน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เรื่องการอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกด โดยการ
จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกทักษะ และเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ
เรียนหลังเรียนกับเกณฑ์ร้อยละ80 3) เพื่อพัฒนาทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกทักษะ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้น
ประถมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนหทัยกิจคริสเตียน อำเภอภูผาม่าน จังหวัดขอนแก่น ที่กำลังศึกษาในปี
การศึกษา 2563 จำนวน 35 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย (Simple Random Sampling)
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบร่วมมือเทคนิค
TGT ประกอบชุดฝึกทักษะ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 20 ข้อ มีค่าความสอดคล้อง
ของข้อสอบและจุดประสงค์ (IOC) ตั้งแต่ 0.60 – 1.00 มีค่าความยาก (p) ตั้งแต่ 0.20 ถึง 0.80 ค่า
อำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.21 ถึง 1.0 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยใช้วิธีของโลเวทมีค่า 0.88 3) แบบ
ประเมินทักษะทางสังคม จำนวน 20 ข้อ วิเคราะห์เปรียบเทียบผลการประเมินทักษะทางสังคมกับ
เกณฑ์ที่กำหนด รูปแบบการวิจัยใช้ One Group Pre-test Post-test Design สถิติที่ใช้ในการ
วิเคราะห์ข้อมูล คือ การหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ สถิติทดสอบ t
ผลการวิจัยพบว่า
1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TGT มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ
81.43/87.93
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .01
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้รูปแบบการสอนแบบร่วมมือเทคนิคTGTหลังเรียนสูงกว่า
ก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนร้อยละ 80.29
สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 ที่กำหนดไว้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ทักษะทางสังคมของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โดยการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือ
เทคนิค TGT ประกอบชุดฝึกทักษะโดยรวมอยู่ในระดับมาก

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น