ข้อมูลงานวิจัย
ชื่อเรื่อง | รูปแบบการส่งมอบบริการที่มีคุณค่าของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลชุมชน : กรณีศึกษา แผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพร |
เจ้าของผลงาน | วรรนภา สินลาลับ |
ปีการศึกษา | 2558 |
ประเภท | วิทยานิพนธ์ |
คณะ | คณะบริหารธุรกิจและเทคโนโลยีสารสนเทศ |
หลักสูตร | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
สาขา | บริหารธุรกิจ |
จำนวนหน้า | 134 หน้า |
บทคัดย่อ (Abstract) | การวิจัยเรื่อง รูปแบบการส่งมอบบริการที่มีคุณค่าของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สำรวจคุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพร 2) ศึกษาการส่งมอบคุณค่าการให้บริการที่มีคุณค่าของแผนกผู้ป่วยนอก 2 ด้าน ประกอบด้วย คุณค่าด้านการให้บริการและคุณค่าทางอารมณ์ 3) เปรียบเทียบการส่งมอบบริการที่มีคุณค่าของแผนกผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพรจำแนกตามคุณลักษณะส่วนบุคคล 4) เสนอการส่งมอบคุณค่าการให้บริการที่มีคุณค่า กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในศึกษาได้แก่ผู้ป่วยที่มารับบริการแผนกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลท่าแซะอายุ 15 ปีขึ้นไป ขนาดตัวอย่าง400 คนเลือกด้วยวิธีการเจาะจง เครื่องมือการวิจัย คือแบบสอบถาม มีระดับค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือสถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ การแจกแจกความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติเชิงอนุมานเพื่อทำการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว และการทดสอบเป็นรายคู่โดยวิธี LSD ผลการวิจัยพบว่า 1) คุณลักษณะส่วนบุคคลของผู้รับบริการในแผนกผู้ป่วยนอกส่วนมากเป็นหญิง มีอายุระหว่าง 21–40 ปี การศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี เป็นเกษตรกร มีรายได้ไม่เกิน 10,000 บาท และใช้บริการต่อเดือนต่ำกว่า 2 ครั้ง 2) ระดับความสำคัญของการส่งมอบคุณค่าการให้บริการของแผนกผู้ป่วยนอกพบว่าในภาพรวมอยู่ในระดับสูง เมื่อพิจารณารายด้าน ด้านคุณค่าการให้บริการอยู่ในระดับสูง และด้านคุณค่าทางอารมณ์อยู่ในระดับปานกลาง 3) การเปรียบเทียบการส่งมอบคุณค่าการให้บริการของแผนกผู้ป่วยนอกจำแนกตามลักษณะส่วนบุคคลซึ่งเป็นผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ผู้รับบริการที่มีอายุ ระดับการศึกษา อาชีพ รายได้ ความถี่ในการมาใช้บริการที่ต่างกัน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการส่งมอบบริการที่มีคุณค่าทั้งด้านด้านคุณค่าการให้บริการและด้านคุณค่าทางอารมณ์ของแผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลท่าแซะ จังหวัดชุมพรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมมติฐานยกเว้นผู้รับบริการที่มีเพศต่างกัน มีความคิดเห็นต่อรูปแบบการส่งมอบบริการที่มีคุณค่าเฉพาะด้านด้านคุณค่าการให้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ส่วนด้านคุณค่าทางอารมณ์มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ซึ่งไม่สอดคล้องกับสมมติฐาน 4) รูปแบบการส่งมอบบริการที่มีคุณค่าที่ได้จากผลการวิจัยคือ การให้ความสำคัญใน 3 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง ได้แก่อัตราค่ารักษาและวิธีชำระเงิน ด้านจริยธรรม และ ด้านความเชื่อถือไว้วางใจในการปฏิบัติงานของแพทย์ พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์อื่นๆ ตามลำดับในการปรับปรุงการบริการเพื่อสร้างความพึงพอใจแก่ผู้รับบริการมากขึ้น
The research was The Model of Values Service Delivery of Outpatient Department in the Community Hospital: In Case Study:Thasae Hospital, Chumphon Province. This purpose of the research was 1) to survey the personal characteristics of the service providers in the outpatient department of Thasae hospital, Chumphon province. 2) to the model of values service delivery of the outpatient department in 2 aspects as follows: service values and emotional values.3) to compare the model of values service delivery of the outpatient department in Thasae hospital, Chumphon province, classified by the personal characteristics. 4) to offer the model of values service delivery. The sample was 400 patients who had age 15 years old and up and taken the service in the outpatient department with purposive random sampling.The data was collected by questionnaires with the reliability was .93.The statistics used for data analysis descriptive statistics that frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test (One way ANOVA), and least significant difference in Scheff’s method. The result of the research revealed that 1) the personal characteristics of the service providers, the majority of service providers were females who had age between 21-40 years old, lower than bachelor degree, agriculturist, less than 10,000 bath income and use the service in twice a month.2) the significant level of the service provider in the outpatient department found that the overall was at the high level. When considering each aspect found that service values was at the high level and emotional values was at the moderate level. 3) the comparison of the service provider in the outpatient department,classified by personal characteristics. The hypothesis test found that the different age, educational level, occupation, income and the service frequency of providers had the opinion to the model of values service delivery in service values and emotional values of outpatient department Thasae hospital, Chumphon province with statistically significant difference at .05 in accordance with the hypothesis setting. Unless the service providers who had the different gender with the opinion to the service frequency of the outpatient department Thasae hospital, Chumphon province, especially service values was statistically significant difference at .05. The different opinion of emotional values was not statistically significant difference in.05 that in accordance without the hypothesis setting. 4) the research results of service delivery model by valuable was the most significant in 3 aspects and the highest average was treatment rates and payment terms, ethics and trust in the performance of doctors , nurses and the other doctors respectively, the satisfaction in service should increase and improve all services for the service providers. |
เอกสารฉบับเต็ม (Full)
เฉพาะสมาชิกเท่านั้น