ข้อมูลงานวิจัย

 ชื่อเรื่อง  การพัฒนาผลลัพธ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง แรงลัพธ์ และแรงเสียดทานโดยใช้เทคนิคการสอนตามแนวคิดแบบสะเต็มศึกษาสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
 เจ้าของผลงาน  นางสาวจารุพร บุญยอด
 ปีการศึกษา  2566
 ประเภท  วิทยานิพนธ์
 คณะ  คณะศึกษาศาสตร์
 หลักสูตร  ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต
 สาขา  หลักสูตรและการเรียนการสอน
 จำนวนหน้า  134 หน้า
 บทคัดย่อ (Abstract)  
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางสาระการเรียนรู้วิชา
วิทยาศาสตร์เรื่องแรงลัพธ์และแรงเสียดทาน ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่างคือ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 69 คน เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้ (2)
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติวิเคราะห์ข้อมูลคือ
ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้วิธีการสอน
ตามแนวคิดแบบสะเต็มศึกษา เรื่อง แรงลัพธ์และแรงเสียดทาน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่ใดรับการ
จัดการเรียนรูตามแนวคิดสะเต็มศึกษา (STEM Education) คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียน 12.97 คะแนน
และคะแนนเฉลี่ย หลังเรียน 25.31 คะแนน ผลการเปรียบเทียบเทียบว่าคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อน
เรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนตาม
แนวคิด แบบสะเต็มศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ความพึง
พอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้วิธีการสอนตามแนวคิดแบบสะเต็มศึกษาอยู่ในระดับมากมี
อยู่แปดข้อโดยสามอันดับแรกคือ (1) นักเรียนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมร่วมกัน (2) การวัดและ การ
ประเมินผลครอบคลุมเนื้อหาวิซาที่เรียน และ (3) เนื้อหามีความเหมาะสมกับระดับความสามารถของ
นักเรียน และอยู่ในระดับปานกลางมีอยู่สองข้อ ดังนี้ (1) กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ได้ด้วย
ตนเอง และ (2) มีเนื้อหาที่เหมาะสมกับระยะเวลาที่ไช้สอน

เอกสารฉบับเต็ม (Full)



เฉพาะสมาชิกเท่านั้น