การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์คือ 1) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของกรจัดกิจกรรมการเรียนรู้ แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับชุดกิจกรรมฝึกทักษะของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 วิชา วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะและการปรากฏของดวงจันทร์ 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบสุริยะและการปรากฏของดวงจันทร์ โดยใช้การจัดกิจกรรมการ เรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับชุดกิจกรรมฝึกทักษะ ก่อนเรียนกับหลังเรียน และหลังเรียนกับ เกณฑ์ ร้อยละ 75 และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการ จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือเทคนิค TAI ร่วมกับชุดกิจกรรมฝึกทักษะวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องระบบสุริยะ: และการปรากฏของดวงจันทร์ กลุ่มตัวอย่างคือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/5 ภาคเรียนที่ 2 ปี การศึกษา 2563 โรงเรียนวรราชวิทยา อำเภอวังสะพุง จังหวัดเลย มีจำนวน 37 คน ได้มาโดยวิธีการ สุ่มอย่างง่าย (Simple Randorn Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรม วิทยาศาสตร์ เรื่อง ระบบสุริยะและการปรากฏของดวงจันทร์ แผนการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์แบบ ร่วมมือเทคนิค TAI (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน 30 ข้อ ที่มี ความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับจุดประสงค์การเรียนรู้ (10C) ตั้งแต่ 0.60 - 1.00 และมีค่าความ ยาก (p) ตั้งแต่ 0.25 - 0.70 ค่าอำนาจจำแนก (r) ตั้งแต่ 0.30 - 0.75 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับโดยใช้ สูตรของโลเวทมีค่า 0.93 และ (3) แบบสอบถามความพึงพอใจ จำนวน 15 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นทั้ง ฉบับโดยใช้สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟ้าของครอนปัค เท่ากับ 0.75 ใช้รูปแบบการวิจัยแบบ One - Group Pretest - Posttest Design สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐานและการทดสอบสมมุติฐานการวิจัย โดยใช้ค่าสถิติติติที่
ผลการวิจัยพบว่า 1. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค TAI ประกอบชุดกิจกรรมฝึกทักษะ เรื่อง ระบบสุริยะและการปรากฏของดวงจันทร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4มีค่าประสิทธิภาพ เท่ากับ 82.68/78.02 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่ตั้งไว้คือ 75/75 2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลัง เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูง กว่าเกณฑ์ร้อยละ 75 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. นักเรียนมีความพึงพอใจรวมทุกด้าน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ซึ่งผลความพึงพอใจอยู่ใน ระดับมากที่สุด |