การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการ ปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจอารักขาและควบคุมฝูงชน กองกำกับการควบคุมฝูงชน 2 จำแนกตาม ปัจจัยส่วนบุคคล ประชากรที่ศึกษาคือ เจ้าหน้าที่ตำรวจอารักขาและควบคุมฝูงชน กองกำกับการ ควบคุมฝูงชน 2 กลุ่มตัวอย่างจำนวน 132 นาย เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามมีลักษณะแบบ มาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที่ (แบบ Independent samples) และ การทดสอบค่าเอฟ (one-way ANOVA) ผลการศึกษาพบว่า 1. ปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ตำรวจอารักขาและควบคุมฝูง ชน กองกำกับการควบคุมฝูงชน 2 โดยรวมอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความก้าวหน้าและมั่นคงในงาน ด้านความรับผิดชอบ ด้านความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล ด้าน การบังคับบัญชา ด้านผลตอบแทนและสวัสดิการ ด้านนโยบายองค์การและการบริหารงาน ด้าน ลักษณะงานที่ปฏิบัติ ด้านการยอมรับนับถือ ด้านความสำเร็จในการทำงางาน และด้านสภาพแวดล้อมใน การทำงาน ตามลำดับ 2. เจ้าหน้าที่ตำรวจอารักขาและควบคุมฝูงชน กองกำกับการควบคุมฝูงชน 2 ที่มีระดับ ชั้นยศ และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นว่าปัจจัยด้านแรงจูงใจที่ส่งผลต่อการปฏิบัติงาน ไม่ แตกต่างกัน |